“เขียน” ความสุขให้ชีวิต (Writing Your Way to Happiness)
หน้า 1 จาก 1
“เขียน” ความสุขให้ชีวิต (Writing Your Way to Happiness)
พอดี แฟนผมได้อ่านบทความนี้จาก blog ของ New York Times และเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์กับหลาย ๆ คน (โดยเฉพาะพวกเรา ชาว nofap) เลยแปลบทความนี้มาให้ครับ
สำหรับผมเอง เวลาที่เครียดและสับสน หาทางออกไม่เจอ สุดท้ายก็มาจบลงที่การเขียนระบายความรู้สึกออกมา แค่เขียนเสร็จก็รู้สึกสบายใจขิ้น และยิ่งเมื่อได้อ่านสิ่งที่ตนเขียน ก็ทำให้เห็นรูปแบบความคิดของเราเอง และได้คำตอบสำหรับปัญหานั้น ๆ ในที่สุด เรียกได้ว่าเป็ฯการบำบัดตนเองอย่างหนึ่ง
ดังนั้น มาเขียนกันเถอะครับ เขียนอะไรก็ได้ เขียนไปเรื่อย ๆ แล้วคุณจะพบคำตอบ
นักวิทยาศาสตร์พบว่าการเขียนเพื่อเล่าเรื่องราวนั้นมีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเขียนเรื่องเกี่ยวกับตนเองและประสบการณ์ส่วนตัวสามารถลดความแปรปรวนทางอารมณ์ ลดอาการเจ็บป่วยในผู้ป่วยมะเร็ง ช่วยให้ผู้ป่วยที่ฟื้นฟูจากโรคหัวใจมีสุขภาพดีขึ้น ไปหาหมอน้อยลง และช่วยให้ความจำดีขึ้น
ตอนนี้นักวิจัยกำลังค้นคว้าเพื่อหาคำตอบว่าพลังของการเขียนเรื่องราวของตัวคุณเอง –และเขียนเรื่องเดิมซ้ำอีกครั้ง จะสามารถปรับพฤติกรรมและทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นหรือไม่
งานวิจัยนี้มีแนวคิดว่า ทัศนะที่มีต่อโลกและตัวเราเองของมนุษย์ทุกคนล้วนถูกหล่อหลอมด้วยเรื่องราวของตัวเราเองทั้งสิ้น แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่เสียงภายในตัวเราจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวที่ถูกต้อง นักวิจัยบางรายเชื่อว่าเล่าเรื่องผ่านการเขียนและปรับแก้เรื่องราวที่เราเขียนขึ้นมานั้น นอกจากมีผลให้เราสามารถเข้าใจเรื่องราวของเราเองได้ดีขึ้น ยังรับรู้ภัยร้ายต่อสุขภาพของเราได้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย
แนวคิดนี้อาจดูไร้สาระ แต่การศึกษาพบว่าผลดีของการเล่าเรื่องผ่านเขียนนั้นมีอยู่จริง
ตัวอย่างเช่น งานวิจัยยุคต้นๆเกี่ยวกับการปรับแก้ไขงานเขียนของตัวเองที่ทดลองกับนักศึกษาปีหนึ่งผลการเรียนแย่จำนวน 40 คนของมหาวิทยาลัย Duke นักศึกษาเหล่านี้นอกจากกังวลเรื่องคะแนนสอบ ยังสงสัยตัวเองด้วยซ้ำไปว่าพวกเขามีสติปัญญาระดับเดียวกับนักศึกษาคนอื่นๆในมหาวิทยาลัยหรือไม่
นักวิจัยแบ่งนักศึกษาเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ใช้การเขียนเป็นเครื่องมือในการทดลอง (intervention) และกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ นักวิจัยบอกนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มแรกว่าการเรียนไม่ทันตอนอยู่ปีหนึ่งเป็นเรื่องธรรมดา นักศึกษาเหล่านี้ได้ชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับรุ่นพี่ในมหาวิทยาลัยที่เล่าเรื่องราวว่าการปรับตัวในมหาวิทยาลัยทำให้พวกเขามีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างไร
การทดลองนี้วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเหล่านี้ปรับแก้การเล่าเรื่องราวในมหาวิทยาลัยของพวกเขาเสียใหม่ นั่นก็คือแทนที่จะคิดว่าพวกเขาไม่เหมาะกับมหาวิทยาลัย พวกเขาควรคิดเสียว่าพวกเขาเพียงแค่ต้องการเวลามากขึ้นสำหรับปรับตัว
การทดลองนี้ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านบุคลิภาพและจิตวิทยาเชิงสังคม เพียงระยะเวลาอันสั้น พบว่านักศึกษากลุ่มที่ผ่านกระบวนเขียนเพื่อเล่าเรื่องมีผลการเรียนที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ผลลัพธ์ในระยะยาวกลับน่าประทับใจยิ่งกว่า
นักศึกษากลุ่มที่ถูกกระตุ้นให้ใช้การเขียนเปลี่ยนเรื่องราวของตนเองมีผลการเรียนเฉลี่ยดีขึ้น และแนวโน้มที่จะเลิกเรียนการคันลดลง เมื่อเทียบกับนักศึกษาอีกกลุ่ม กล่าวคือ ร้อยละ 20 ของนักศึกษาในกลุ่มที่ไม่ได้ใช้การเขียนเป็นเครื่องมือ นักศึกษากลุ่มนี้ ได้เลิกเรียนกลางคันภายในระยะเวลา 1ปี แต่ในกลุ่มที่ใช้การเขียนเป็นเครื่องมือ มีนักศึกษาจำนวนแค่ร้อยละ 1 หรือ 5 เท่านั้นที่เลิกเรียนกลางคัน
นักวิจัยแห่งสแตนฟอร์ดได้ทำการทดลองกลุ่มนักศึกษาเชื้อสายอัฟริกัน-อเมริกันกลุ่มที่มีปัญหาในการปรับตัวในมหาวิทยาลัย โดยขอให้นักศึกษาบางคนเขียนเรื่องหรือถ่ายวิดิโอเรื่องราวของชีวิตในมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปให้นักศึกษาสแตนฟอร์ดในอนาคตได้ชม การทดลองนี้พบว่า นักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการเขียนเรื่องหรือถ่ายวิดิโอ มีผลการเรียนดีขึ้นในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับนักศึกษาอีกกลุ่ม
นอกจากนี้ ยังมีการทดลองเกี่ยวกับการเขียนที่ขอให้คู่แต่งงานเขียนเรื่องราวความขัดแย้งจากมุมมองของผู้สังเกตุการณ์ ผลการทดลองพบว่า จากคู่แต่งงานจำนวนทั้งหมด 120 คู่ คู่ที่ได้ผ่านกระบวนการเล่าปัญหาผ่านการเขียนเรื่องมีความสุขในชีวิตแต่งงานมากขึ้นกว่าคู่ที่แต่งงานที่ไม่ได้เล่าเรื่องผ่านการเขียน
“การเล่าเรื่องผ่านการเขียนสามารถเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของคุณได้ แทนที่คุณจะยอมแพ้ คุณกลับสร้างแนวคิดบวกซึ่งช่วยให้คุณเข็มแข็งขึ้น” ดร. ทิมโมธี ดี วิลสัน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและหัวหน้าคณะการศึกษา Duke Study แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียกล่าว
หนังสือเล่มล่าสุดของ ดร. วิลสัน ที่มีชื่อว่า “Redirect: Changing the Stories We Live By” วางแผงเดือนมกราคม 2558 เชื่อว่า ถึงแม้การเขียนจะไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่การเขียนนั้นมีส่วนช่วยให้คุณจัดการกับปัญหาได้แน่นอน “การเขียนผลักดันให้เราเข้าใจว่าปัญหาของพวกเราคืออะไรและได้เข้าใจมุมมองใหม่ๆ จากปัญหาเหล่านี้”
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการเล่าเรื่องผ่านการเขียนของเจมส์ เพนน์เบเคอร์ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส โดย ดร.เพนเบเคอร์ ได้ขอให้นักศึกษาใช้เวลาวันละ 15 นาทีเขียนเรื่องราวที่สำคัญของตัวเองหรือเรื่องอื่นๆทั่วๆไป หลังจากนั้น เขาพบว่านักศึกษากลุ่มนี้เจ็บป่วยน้อยลงและไปใช้บริการรักษาโรคที่ศูนย์สุขภาพด้วยเช่นเดียวกัน
“แนวคิดของเราคือกระตุ้นให้คนทำความเข้าใจอย่างแท้จริงว่าพวกเขาคือใครและอยากบรรลุอะไร”ดร.เพนเบเคอร์กล่าว “ผมมองว่าการเล่าเรื่องผ่านการเขียนคือการแก้ไขวงจรชีวิตของตนเอง”
ที่สถาบันเสริมสร้างศักยภาพจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ลูกค้าถูกขอให้กำหนดเป้าหมายของตัวเองและเล่าเรื่องผ่านการเขียนว่าทำไมถึงไม่สามารถบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้
เมื่อลูกค้าเหล่านี้เขียนเล่าเรื่องเรียบร้อยแล้ว สถาบันขอให้พวกเขาไตร่ตรองเรื่องที่ตัวเองเขียนแล้วปรับแก้เรื่องราวเสียใหม่ด้วยมุมมองที่ใหม่และด้วยความสัตย์จริงมากขึ้น ถึงแม้ว่าทางสถาบันไม่มีข้อมูลผลการทดลองในระยะยาว วิธีการเล่าเรื่องผ่านการเขียนนี้ได้เกิดผลทางบวกอย่างชัดเจนต่อลูกค้าของสถาบันกลุ่มนี้
ตัวอย่างเช่น ลูกค้าของสถาบันคนหนึ่งที่มีชื่อว่าสิริได้เขียนเล่าเรื่องว่า เธออยากมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น แต่เนื่องจากเธอต้องหาเลี้ยงครอบครัว เธอต้องทำงานตลอดเวลาจึงรู้สึกผิดเมื่อเธอใช้เวลาไปออกกำลังกายแทนที่จะเลี้ยงดูลูกๆ
เมื่อสิริถูกขอให้เขียนเรื่องของตัวเองเสียใหม่ โดยใช้เนื้อหาเดิมแต่ด้วยมุมมองที่จริงใจมากขึ้นว่าทำไมเธอไม่ออกกำลังกาย กลับพบว่า จริงๆแล้ว สิริกลับเล่าว่า “ฉันไม่ชอบออกกำลังกาย และไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเองมากพอ ฉันเอางานและลูกๆมาใช้เป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องออกกำลังกาย”
ผู้เขียนรู้สึกทึ่งกับผลลัพธ์ของการเล่าเรื่องผ่านการเขียน จึงได้ลองทดลองกับตัวเองด้วยความช่วยเหลือของแจ็ค กร็อพเพล ผู้ก่อตั้งร่วมของสถาบันสมรรถนะของมนุษย์
ผู้เขียนพบว่าตัวเองเป็นเหมือนสิริ มีข้ออ้างต่างๆนานาว่าไม่มีเวลาออกกำลังกาย แต่เมื่อเริ่มเล่าความคิดของตัวเองผ่านการเขียน กลับพบว่าจริงๆแล้วสามารถหาเวลาเพื่อออกกำลังกายได้ด้วยเพียงปรับตารางเวลาประจำวันเสียใหม่
“การเผชิญหน้ากับความจริงว่าอะไรที่สำคัญสำหรับตัวคุณเอง จะช่วยสร้างโอกาสให้คุณเปลี่ยนแปลงตัวเองได้” ดร.กร็อพเพลกล่าว
สำหรับผมเอง เวลาที่เครียดและสับสน หาทางออกไม่เจอ สุดท้ายก็มาจบลงที่การเขียนระบายความรู้สึกออกมา แค่เขียนเสร็จก็รู้สึกสบายใจขิ้น และยิ่งเมื่อได้อ่านสิ่งที่ตนเขียน ก็ทำให้เห็นรูปแบบความคิดของเราเอง และได้คำตอบสำหรับปัญหานั้น ๆ ในที่สุด เรียกได้ว่าเป็ฯการบำบัดตนเองอย่างหนึ่ง
ดังนั้น มาเขียนกันเถอะครับ เขียนอะไรก็ได้ เขียนไปเรื่อย ๆ แล้วคุณจะพบคำตอบ
“เขียน” ความสุขให้ชีวิต (Writing Your Way to Happiness)
โดย Tara Parker-Pope19 มกราคม 2558 http://well.blogs.nytimes.com/2015/01/19/writing-your-way-to-happiness/นักวิทยาศาสตร์พบว่าการเขียนเพื่อเล่าเรื่องราวนั้นมีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการเขียนเรื่องเกี่ยวกับตนเองและประสบการณ์ส่วนตัวสามารถลดความแปรปรวนทางอารมณ์ ลดอาการเจ็บป่วยในผู้ป่วยมะเร็ง ช่วยให้ผู้ป่วยที่ฟื้นฟูจากโรคหัวใจมีสุขภาพดีขึ้น ไปหาหมอน้อยลง และช่วยให้ความจำดีขึ้น
ตอนนี้นักวิจัยกำลังค้นคว้าเพื่อหาคำตอบว่าพลังของการเขียนเรื่องราวของตัวคุณเอง –และเขียนเรื่องเดิมซ้ำอีกครั้ง จะสามารถปรับพฤติกรรมและทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นหรือไม่
งานวิจัยนี้มีแนวคิดว่า ทัศนะที่มีต่อโลกและตัวเราเองของมนุษย์ทุกคนล้วนถูกหล่อหลอมด้วยเรื่องราวของตัวเราเองทั้งสิ้น แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่เสียงภายในตัวเราจะสามารถบอกเล่าเรื่องราวที่ถูกต้อง นักวิจัยบางรายเชื่อว่าเล่าเรื่องผ่านการเขียนและปรับแก้เรื่องราวที่เราเขียนขึ้นมานั้น นอกจากมีผลให้เราสามารถเข้าใจเรื่องราวของเราเองได้ดีขึ้น ยังรับรู้ภัยร้ายต่อสุขภาพของเราได้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย
แนวคิดนี้อาจดูไร้สาระ แต่การศึกษาพบว่าผลดีของการเล่าเรื่องผ่านเขียนนั้นมีอยู่จริง
ตัวอย่างเช่น งานวิจัยยุคต้นๆเกี่ยวกับการปรับแก้ไขงานเขียนของตัวเองที่ทดลองกับนักศึกษาปีหนึ่งผลการเรียนแย่จำนวน 40 คนของมหาวิทยาลัย Duke นักศึกษาเหล่านี้นอกจากกังวลเรื่องคะแนนสอบ ยังสงสัยตัวเองด้วยซ้ำไปว่าพวกเขามีสติปัญญาระดับเดียวกับนักศึกษาคนอื่นๆในมหาวิทยาลัยหรือไม่
นักวิจัยแบ่งนักศึกษาเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่ใช้การเขียนเป็นเครื่องมือในการทดลอง (intervention) และกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ นักวิจัยบอกนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มแรกว่าการเรียนไม่ทันตอนอยู่ปีหนึ่งเป็นเรื่องธรรมดา นักศึกษาเหล่านี้ได้ชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับรุ่นพี่ในมหาวิทยาลัยที่เล่าเรื่องราวว่าการปรับตัวในมหาวิทยาลัยทำให้พวกเขามีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างไร
การทดลองนี้วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเหล่านี้ปรับแก้การเล่าเรื่องราวในมหาวิทยาลัยของพวกเขาเสียใหม่ นั่นก็คือแทนที่จะคิดว่าพวกเขาไม่เหมาะกับมหาวิทยาลัย พวกเขาควรคิดเสียว่าพวกเขาเพียงแค่ต้องการเวลามากขึ้นสำหรับปรับตัว
การทดลองนี้ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารด้านบุคลิภาพและจิตวิทยาเชิงสังคม เพียงระยะเวลาอันสั้น พบว่านักศึกษากลุ่มที่ผ่านกระบวนเขียนเพื่อเล่าเรื่องมีผลการเรียนที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ผลลัพธ์ในระยะยาวกลับน่าประทับใจยิ่งกว่า
นักศึกษากลุ่มที่ถูกกระตุ้นให้ใช้การเขียนเปลี่ยนเรื่องราวของตนเองมีผลการเรียนเฉลี่ยดีขึ้น และแนวโน้มที่จะเลิกเรียนการคันลดลง เมื่อเทียบกับนักศึกษาอีกกลุ่ม กล่าวคือ ร้อยละ 20 ของนักศึกษาในกลุ่มที่ไม่ได้ใช้การเขียนเป็นเครื่องมือ นักศึกษากลุ่มนี้ ได้เลิกเรียนกลางคันภายในระยะเวลา 1ปี แต่ในกลุ่มที่ใช้การเขียนเป็นเครื่องมือ มีนักศึกษาจำนวนแค่ร้อยละ 1 หรือ 5 เท่านั้นที่เลิกเรียนกลางคัน
นักวิจัยแห่งสแตนฟอร์ดได้ทำการทดลองกลุ่มนักศึกษาเชื้อสายอัฟริกัน-อเมริกันกลุ่มที่มีปัญหาในการปรับตัวในมหาวิทยาลัย โดยขอให้นักศึกษาบางคนเขียนเรื่องหรือถ่ายวิดิโอเรื่องราวของชีวิตในมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปให้นักศึกษาสแตนฟอร์ดในอนาคตได้ชม การทดลองนี้พบว่า นักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการเขียนเรื่องหรือถ่ายวิดิโอ มีผลการเรียนดีขึ้นในเวลาต่อมา เมื่อเทียบกับนักศึกษาอีกกลุ่ม
นอกจากนี้ ยังมีการทดลองเกี่ยวกับการเขียนที่ขอให้คู่แต่งงานเขียนเรื่องราวความขัดแย้งจากมุมมองของผู้สังเกตุการณ์ ผลการทดลองพบว่า จากคู่แต่งงานจำนวนทั้งหมด 120 คู่ คู่ที่ได้ผ่านกระบวนการเล่าปัญหาผ่านการเขียนเรื่องมีความสุขในชีวิตแต่งงานมากขึ้นกว่าคู่ที่แต่งงานที่ไม่ได้เล่าเรื่องผ่านการเขียน
“การเล่าเรื่องผ่านการเขียนสามารถเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของคุณได้ แทนที่คุณจะยอมแพ้ คุณกลับสร้างแนวคิดบวกซึ่งช่วยให้คุณเข็มแข็งขึ้น” ดร. ทิมโมธี ดี วิลสัน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและหัวหน้าคณะการศึกษา Duke Study แห่งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียกล่าว
หนังสือเล่มล่าสุดของ ดร. วิลสัน ที่มีชื่อว่า “Redirect: Changing the Stories We Live By” วางแผงเดือนมกราคม 2558 เชื่อว่า ถึงแม้การเขียนจะไม่สามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้ แต่การเขียนนั้นมีส่วนช่วยให้คุณจัดการกับปัญหาได้แน่นอน “การเขียนผลักดันให้เราเข้าใจว่าปัญหาของพวกเราคืออะไรและได้เข้าใจมุมมองใหม่ๆ จากปัญหาเหล่านี้”
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการเล่าเรื่องผ่านการเขียนของเจมส์ เพนน์เบเคอร์ ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส โดย ดร.เพนเบเคอร์ ได้ขอให้นักศึกษาใช้เวลาวันละ 15 นาทีเขียนเรื่องราวที่สำคัญของตัวเองหรือเรื่องอื่นๆทั่วๆไป หลังจากนั้น เขาพบว่านักศึกษากลุ่มนี้เจ็บป่วยน้อยลงและไปใช้บริการรักษาโรคที่ศูนย์สุขภาพด้วยเช่นเดียวกัน
“แนวคิดของเราคือกระตุ้นให้คนทำความเข้าใจอย่างแท้จริงว่าพวกเขาคือใครและอยากบรรลุอะไร”ดร.เพนเบเคอร์กล่าว “ผมมองว่าการเล่าเรื่องผ่านการเขียนคือการแก้ไขวงจรชีวิตของตนเอง”
ที่สถาบันเสริมสร้างศักยภาพจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ลูกค้าถูกขอให้กำหนดเป้าหมายของตัวเองและเล่าเรื่องผ่านการเขียนว่าทำไมถึงไม่สามารถบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้
เมื่อลูกค้าเหล่านี้เขียนเล่าเรื่องเรียบร้อยแล้ว สถาบันขอให้พวกเขาไตร่ตรองเรื่องที่ตัวเองเขียนแล้วปรับแก้เรื่องราวเสียใหม่ด้วยมุมมองที่ใหม่และด้วยความสัตย์จริงมากขึ้น ถึงแม้ว่าทางสถาบันไม่มีข้อมูลผลการทดลองในระยะยาว วิธีการเล่าเรื่องผ่านการเขียนนี้ได้เกิดผลทางบวกอย่างชัดเจนต่อลูกค้าของสถาบันกลุ่มนี้
ตัวอย่างเช่น ลูกค้าของสถาบันคนหนึ่งที่มีชื่อว่าสิริได้เขียนเล่าเรื่องว่า เธออยากมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น แต่เนื่องจากเธอต้องหาเลี้ยงครอบครัว เธอต้องทำงานตลอดเวลาจึงรู้สึกผิดเมื่อเธอใช้เวลาไปออกกำลังกายแทนที่จะเลี้ยงดูลูกๆ
เมื่อสิริถูกขอให้เขียนเรื่องของตัวเองเสียใหม่ โดยใช้เนื้อหาเดิมแต่ด้วยมุมมองที่จริงใจมากขึ้นว่าทำไมเธอไม่ออกกำลังกาย กลับพบว่า จริงๆแล้ว สิริกลับเล่าว่า “ฉันไม่ชอบออกกำลังกาย และไม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเองมากพอ ฉันเอางานและลูกๆมาใช้เป็นข้ออ้างให้ไม่ต้องออกกำลังกาย”
ผู้เขียนรู้สึกทึ่งกับผลลัพธ์ของการเล่าเรื่องผ่านการเขียน จึงได้ลองทดลองกับตัวเองด้วยความช่วยเหลือของแจ็ค กร็อพเพล ผู้ก่อตั้งร่วมของสถาบันสมรรถนะของมนุษย์
ผู้เขียนพบว่าตัวเองเป็นเหมือนสิริ มีข้ออ้างต่างๆนานาว่าไม่มีเวลาออกกำลังกาย แต่เมื่อเริ่มเล่าความคิดของตัวเองผ่านการเขียน กลับพบว่าจริงๆแล้วสามารถหาเวลาเพื่อออกกำลังกายได้ด้วยเพียงปรับตารางเวลาประจำวันเสียใหม่
“การเผชิญหน้ากับความจริงว่าอะไรที่สำคัญสำหรับตัวคุณเอง จะช่วยสร้างโอกาสให้คุณเปลี่ยนแปลงตัวเองได้” ดร.กร็อพเพลกล่าว
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ